วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน


            ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน มีหน้าที่เป็นปราการเชื่อมต่อระหว่างระบบนิเวศบนบกและนิเวศทางทะเล โดยทำหน้าที่ช่วยเก็บกักตะกอนและกลั่นกรองความสกปรกที่มาจากกิจกรรมบนบก และยังมีหน้าที่ช่วยรักษามวลดินและหน้าดินไม่ให้ถูกพัดพาออกจากขอบฝั่งและริมตลิ่ง นอกจากนี้ ระบบนิเวศป่าชายเลนยังเป็นแหล่งผลิตออกซิเจน และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตสูง เหมาะแก่การท่องเที่ยวและศึกษาวิจัย
            ระบบนิเวศป่าชายเลนป่าชายเลนในประเทศไทยมีสถานภาพแตกต่างกัน ทั้งในด้านพืชพรรณ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง จึงเป็นสาเหตุให้ระบบนิเวศป่าชายเลนในแต่ละพื้นที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจสรุปปัญหาได้ 3ลักษณะ คือ
1.            พื้นที่ป่าชายเลนที่คงสภาพเป็นป่าอยู่ แต่มีชุมชนเข้าไปอาศัยอยู่ และใช้ประโยชน์ต่าง ๆ พื้นที่บางส่วนถูกบุกรุก ได้แก่ ป่าชายเลนบริเวณฝั่งอันดามัน จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต
2.            พื้นที่ป่าชายเลนที่มีการบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ และเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง เช่น บริเวณอ่าวไทยภาคตะวันออกและภาคใต้ ของจังหวัดจันทบุรี สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
3.            พื้นที่ป่าชายเลนที่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์แต่ไม่คุ้มทุน เช่น การปลูกป่าชายเลนหรือการทำนากุ้ง จึงมีการขายให้กับนายทุน ตลอดจนการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม จนเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และฉะเชิงเทรา
            พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย แบ่งเป็น ชายฝั่งภาคตะวันออกตอนนอก (จังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง) ชายฝั่งอ่าวไทยตอนใน (จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี) อ่าวไทยฝั่งตะวันตกตอนกลาง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) และอ่าวไทยตะวันตกตอนล่าง (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และปัตตานี) บริเวณดังกล่าวมีพื้นที่ป่าชายเลนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2547 ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1  พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2547
                                               
จังหวัด
พื้นที่ป่าชายเลน (ไร่)
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2547
ตราด
47,086.50
59,482.00
67,504.00
จันทบุรี
24,332.25
78,580.00
73,712.00
ระยอง
4,103.00
11,764.00
8,709.00
ชลบุรี
575.00
4,461.00
4,510.00
ฉะเชิงเทรา
3,015.75
10,917.00
7,812.00
สมุทรปราการ
1,858.00
7,218.00
9,164.00
สมุทรสงคราม
7,156.25
15,957.00
14,112.00
สมุทรสาคร
10,601.75
19,252.00
14,909.00
เพชรบุรี
12,938.25
19,168.00
6,511.00
ประจวบคีรีขันธ์
268.75
3,122.00
2,706.00
ชุมพร
19,898.75
45,292.00
40,535.00
สุราษฎร์ธานี
19,886.25
58,127.00
32,510.00
นครศรีธรรมราช
52,601.00
58,876.00
88,099.00
พัทลุง
881.25
1,354.00
2,041.00
สงขลา
3,896.50
21,806.00
6,395.00
ปัตตานี
6,906.75
26,440.00
23,229.00
นราธิวาส
-
-
113.00

      พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง ภูเก็ต และสตูล ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่ป่าชายเลนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2547 ดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2547
จังหวัด
พื้นที่ป่าชายเลน (ไร่)
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2547
ระนอง
120,229.00
170,335.00
158,343.00
พังงา
190,265.25
262,738.00
271,628.00
ภูเก็ต
9,448.00
11,725.00
10,593.00
ตรัง
150,596.75
223,677.00
204,642.00
กระบี่
176,596.75
219,338.00
224,217.00
สตูล
183,402.00
245,822.00
215,803.00

โครงสร้างของป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชพรรณและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ
หลักการในการจำแนกชนิดของป่าชายเลนในประเทศไทย ซึ่งใช้ลักษณะพื้นที่และการท่วมถึงของน้ำทะเลมี 4 ชนิด คือ
Basin forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ (main land) ตามลำแม่น้ำเล็กๆ จะได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลน้อยมาก กล่าวคือ น้ำทะเลจะท่วมถึงเฉพาะเวลาที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (extreme high tide) เท่านั้น และมีอิทธิพลจากน้ำจืดมาก ลักษณะพันธุ์ไม้จะเป็นต้นเตี้ยและพวกเถาวัลย์
Riverine forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำใหญ่ๆที่ติดต่อกับอ่าว ทะเล และทะเลสาบ ป่าประเภทนี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่อย่างสม่ำเสมอ คือจะมีกระแสน้ำท่วมอยู่เป็นประจำวัน โดยพันธุ์ไม้จะเจริญเติบโตค่อนข้างสมบูรณ์ดี
Fringe forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นตามชายฝั่งทะเลติดกับผืนแผ่นดินใหญ่ หรือบริเวณชายฝั่งที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลอยู่สม่ำเสมอ คือน้ำทะเลจะท่วมถึงอยู่เป็นประจำวัน พันธุ์ไม้ของป่าจะเจริญเติบโตได้ดี และเป็นป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์
Overwash forest เป็นชนิดป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่บนเกาะเล็กๆ จะถูกน้ำทะเลท่วมทั้งหมดเมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ต่ำ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมและน้ำทะเลมาก อีกประการหนึ่งคือ พวกปุ๋ยและธาตุอาหารในป่าชนิดนี้จะถูกชะไปโดยกระแสน้ำออกจากป่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การเจริญเติบโตของป่าชนิดนี้ไม่ดีและป่าจะมีลักษณะเตี้ย

ประโยชน์และความสำคัญของป่าชายเลน
1.   ด้านป่าไม้ พันธุ์ไม้จากป่าชายเลนหลายชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างบ้านเรือน ผลิตเครื่องมือการประมง เฟอร์นิเจอร์ และนำมาทำถ่านไม้ที่ให้ความร้อนสูง นอกจากนี้เปลือกของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลายชนิดยังมีสารแทนนิน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น ใช้ย้อมอวน และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ทำหมึก สี และกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น
2.   ด้านการประมง ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะปู กุ้ง หอย ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งสัตว์น้ำอื่นๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารโดยเฉพาะปลาหลายชนิดที่เรานิยมบริโภค เช่น ปลากะพง ปลาทะเลหลายชนิดที่วางไข่ในป่าชายเลน และอาศัยเจริญเติบโตในระยะแรก เมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้วจึงออกสู่ทะเล และหลายชนิดที่แม้จะวางไข่ในทะเลแต่ตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายสู่ป่าชายเลนเพื่ออาศัยหลบซ่อนศัตรู และหาอาหาร
3.   ด้านการแพทย์ พันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคต่างๆได้ ตัวอย่างคือ ต้นเหงือกปลาหมอ โพธิ์ทะเล สำมะงา โปรง ตะบูน แสมและ โกงกาง เป็นต้น
4.   ด้านการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลจากคลื่นลมแรงและการกัดเซาะดินได้เป็นอย่างดี ชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์จะไม่ได้รับความเสียหายจากคลื่นลมแรงและพายุ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศใกล้เคียง คือ ระหว่างป่าชายเลนกับทะเล และระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก มีสัตว์หลายชนิดที่อพยพไปมาระหว่างระบบนิเวศดังกล่าวได้

พืชในป่าชายเลน
            พรรณไม้ในป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลน (mangrove) ซึ่งเป็นไม้พุ่มที่ทนต่อความเค็มของน้ำทะเล มีรากอากาศและระบบรากที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในดินที่มีสภาพขาดออกซิเจนได้ นอกจากนั้น ยังพบพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ป่าชายเลนเป็นบริเวณเชื่อมต่อจากป่าบก จึง้พบพันธุ์ไม้หลายชนิดจากบนบกที่อยู่ร่วมกับป่าชายเลน และพันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอน พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบได้ทั่วไป ได้แก่


ชื่อไทย : โกงกางใบเล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์
 : Rhizophora apiculata
พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมากในป่าชายเลน ลักษณะคล้ายคลึงกับโกงกางใบใหญ่แต่ใบมีขนาดเล็กกว่า ตรงโคนต้นแตกรากค้ำจุนมาก ฝักมีขนาดเล็กยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นจะปักดินและงอกขึ้นมาเป็นต้นโกงกาง ทั้งสองชนิดมักขึ้นอยู่ริมชายฝั่งของเขตแนวป่าด้านนอก

ชื่อไทย : โกงกางใบใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร
์ : Rhizophora mucronata
มีลักษณะต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มบริเวณเรือนยอด รากค้ำจุนแตกออกตรงโคนต้น ใบขนาดใหญ่เป็นมันผลสีน้ำตาล มีการงอกของเมล็ดตั้งแต่อยู่บนต้นยื่นลงมาเป็นท่อนยาวสีเขียว ขนาดยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นโคลน จะปักลงไปในดินและเจริญงอกขึ้นมาเป็นต้น

ชื่อไทย : แสมขาว
ชื่อวิทยาศาสตร
์ : Avicennia alba
พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบมากอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะต้นสูงใหญ่ ตรงโคนต้นมีรากอากาศโผล่พ้นพื้นดันขึ้นมาเป็นเส้นขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอม ผลมีรูปร่างกลมรีคล้ายผลมะม่วงขนาดเล็ก เมื่อหล่นลงสู่พื้นจึงงอกขึ้นเป็นต้นใหม่ หรือถูกพัดพาไปกับน้ำทะเล

ชื่อไทย : ประสัก หรือ พังกาหัวสุม
ชื่อวิทยาศาสตร
์ : Bruguiera gymnorrhiza
ขึ้นแทรกอยู่ในเขตป่าโกงกาง ใบมีผิวเรียบมัน ดอกประสักมีกลีบเลี้ยงสีแดง ผลมีการงอกของเมล็ดตั้งแต่ยังอยู่บนต้น ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ 12 เซนติเมตร เมื่อร่วงหล่นปักลงบนพื้นดินโคลน จะงอกรากและเจริญเป็นต้น

ชื่อไทย : ลำพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sonneratia caseolaris
มักพบขึ้นปะปนกับแสมบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำกร่อย มีรากอากาศขนาดใหญ่ที่แทงขึ้นมาจากพื้นดินเห็นได้ชัดเจน หิ่งห้อยชอบอาศัยอยบนต้นลำพู่และส่งแสงกระพริบในเวลากลางคืน


ชื่อไทย : จาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nypa frutican
พืชจำพวกปาล์มที่พบขึ้นอยู่หนาแน่นบริเวณริมฝั่งคลองของป่าชายเลนหรือบริเวณน้ำกร่อย ชาวประมงนิยมนำใบจากไปมุงหลังคาบ้าน ผลลักษณะเป็นทะลาย แทงขึ้นมาจากกอ

ชื่อไทย : ตะบูนขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylocarpus granatum
พบขึ้นอยู่ทางเขตด้านใน ถัดจากโกงกางเข้าไปซึ่งเป็นเขตตะบูนและโปรง ลักษณะโคนต้นมีรากแผ่ออกเป็นพูพอนขนาดใหญ่ ผลมีขนาดและรูปร่างคล้ายมะตูม เมื่อผลแห้งจะแตกออกมีเมล็ดขนาดใหญ่อยู่ภายใน


ชื่อไทย : โปรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceriops tagal
ขึ้นปะปนกับตะบูน ลำต้นตั้งตรงขนาดสูงประมาณ 5 เมตร เมื่อติดผลมีลักษณะคล้ายคลึงกับฝักโกงกางใบเล็ก ต้นโปรงจะขึ้นอยู่บนพื้นดินที่ค่อนข้างแข็งในเขตเดียวกับตะบูน

ชื่อไทย : ตาตุ่มทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร
์ : Excoecaria agallocha
พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มียางพิษสีขาว หากเข้าตาจะทำให้อักเสบ พบขึ้นปะปนอยู่กับต้นฝาด สังเกตต้นตาตุ่มได้เมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงก่อนที่จะร่วงหล่น



ชื่อไทย : ฝาดดอกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร
์ : Lumnitzera littorea
ไม้ป่าชายเลนขนาดต้นใหญ่ ลำต้นสีดำ ใบเล็ก อวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อสีแดง ออกดอกชุกในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะมีนกกินน้ำหวานหลายชนิด เช่น นกกระจิบ นกแว่นตาขาว และนกกินปลีที่อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน ชอบมาดูดน้ำหวานจากดอกฝาดสีแดงเหล่านี้

ชื่อไทย : เสม็ด
ชื่อวิทยาศาสตร
์ : Melaleuca leucadendron
พืชยืนต้นที่ขึ้นอยู่ทางเขตด้านในสุดของป่าชายเลนเชื่อมต่อกับป่าบก ดอกเป็นช่อสีขาว ส่วนใหญ่ของพื้นที่ป่าเสม็ดจะมีน้ำท่วมถึงเฉพาะช่วงน้ำเกิดในฤดูหนาวเท่านั้น เปลือกของเสม็ดนำมาชุบน้ำมันยางใช้ทำขี้ไต้สำหรับจุดไฟ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวประมง

นอกจากพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น บริเวณป่าชายเลนยังมีพันธุ์ไม้อีกหลายชนิด

สัตว์ที่พบบริเวณป่าชายเลน
            บริเวณป่าชายเลนถือว่าเป็นระบบนิเวศที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เพราะเป็นที่เพาะพันธุ์และเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำ รวมไปถึงเป็นแหล่งหากินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด ทำให้บริเวณป่าชายเลนมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูง ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์หน้าดิน รวมไปถึงสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งสัตว์ที่พบอาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน จะคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำ
หรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัวและสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็ม ตัวอย่างสัตว์ที่พบในป่าชายเลน ได้แก่


ชื่อไทย : หนอนริบบิ้น (Ribbon worm)
ลำตัวแบนเรียวยาวคล้ายคลึงกับหนอนตัวแบน ร่างกายไม่มีปล้อง มีท่อทางเดินอาหารครบจากปากสู่ทวารหนัก และมีงวงที่ยืดหดได้ทางด้านหน้า ลำตัวสีแดงเพราะมีระบบหมุนเวียนโลหิตฝังตัวอาศัยอยู่ในดินโคลนบริเวณป่าชายเลน

ชื่อไทย : แม่เพรียง (Polychaete Worm)
หนอนปล้องที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนมีระยางค์เป็นคู่ช่วยในการว่ายน้ำ ในช่วงฤดูหนาวที่น้ำทะเลขึ้นสูง แม่เพรียงจะว่ายน้ำออกมาที่ผิวทะเลเพื่อผสมพันธุ์โดยตัวผู้และตัวเมียปล่อยเซลล์สืบพันธุ์จำนวนมากออกไปผสมกันในน้ำทะเลได้ตัวอ่อนที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงค์ตอนชั่วคราว ส่วนพ่อแม่พันธุ์มักถูกปลาทะเลจับกินเป็นอาหาร

ชื่อไทย : ปูเปี้ยวก้ามขาว
บริเวณชายหาดโคลนปนทราย ริมป่าชายเลน จะเป็นที่อยู่อาศัยของปูเปี้ยวหรือปูก้ามดาบ ซึ่งมีก้ามข้างหนึ่งขนาดใหญ่ใช้โบกพัดแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขตของตน ตามปกติปูก้ามดาบจะขุดรู และออกมาจากรูหาอาหารช่วงเวลาน้ำลง และฝังตัวอยู่ในรูเมื่อน้ำทะเลขึ้น

ชื่อไทย :ปูเปี้ยวปากคีบ
ปูก้ามดาบอีกชนิดหนึ่ง มีกระดองสีดำก้ามสีน้ำตาลอมม่วง ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่เป็นดินโคลน แยกจากกลุ่มของปูเปี้ยวก้ามขาว ทั้งนี้เป็นการลดการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างปูประเภทเดียวกัน

ชื่อไทย : ปูเปี้ยวขาแดง
ปูก้ามดาบชนิดที่มีกระดองสีฟ้าแต้มด้วยจุดดำ ตรงมุมกระดองมีสีเหลือง ขาเดินมีสีส้มแดง ตัวเมียมีก้ามขนาดเล็กทั้งสองข้างเช่นเดียวกับปูก้ามดาบทั่วไป พบอาศัยอยู่ตามหาดโคลนใกล้แนวป่าชายเลนทางฝั่งทะเลอันดามัน

ชื่อไทย : ปูแสมก้ามแดง
ปูแสมขนาดกลาง กระดองกว้างประมาณ2.5 เซนติเมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้ามสีแดงขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนหรือริมคันนาน้ำเค็ม กินเศษอินทรีย์ต่างๆ เป็นอาหาร พบชุกชุมและมีการแพร่กระจายทั่วไป

ชื่อไทย : ปูแสม หรือปูเค็ม
กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปกคลุมด้วยขนสั้นก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงสีบานเย็นอมม่วงขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน กินเศษอินทรีย์และใบไม้ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปูชนิดนี้เองที่ถูกจับนำมาดองเป็นปูเค็ม


ชื่อไทย : ปูแสมก้ามยาว
ปูแสมชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปูก้ามดาบ โดยมีก้ามขนาดยาวใหญ่ ส่วนขาเดินเรียวเล็ก ขุดรูอาศัยอยู่ตามหาดโคลนริมแนวป่าชายเลนปะปนกับปูก้ามดาบกระดองมีความกว้างประมาณ 1.5เซนติเมตร ก้ามมีสีส้มแดง


ชื่อไทย : ปูทะเล
ปูขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักมากกว่าครึ่งกิโลกรัม กระดองพื้นผิวเรียบเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะอุ้มตัวเมียไว้รอจนกว่าตัวเมียจะลอกคราบแล้วจึงผสมพันธุ์ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะถูกปล่อยออกมาอุ้มไว้ที่หน้าท้องจนกระทั่งฟักออกไปเป็นตัวอ่อน ดำรงชีวิตเป็นแพลงค์ตอนชั่วคราว


ชื่อไทย : กุ้งเคย (Acetes)
ครัสเตเชียนขนาดเล็กรูปร่างคล้ายกุ้งแต่ดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงคลานตามพื้นอย่างกุ้งทั่วไป ขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลและลำคลองบริเวณป่าชายเลน


ชื่อไทย : กุ้งกุลาดำ
กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 20 เซนติเมตร ลำตัวสีน้ำเงินอมม่วงเข้มและมีลายขวางเป็นปล้อง อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลริมชายฝั่งและป่าชายเลนปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย


ชื่อไทย :กุ้งแชบ๊วย 
กุ้งทะเลขนาดค่อนข้างใหญ่ใกล้เคียงกับกุ้งกุลาดำ เปลือกหุ้มตัวมีสีเหลืองนวลบนกรีมีฟัน 5-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-5 ซี่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนริมชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน


ชื่อไทย : แม่หอบ
แม่หอบเป็นครัสเตเชียนลักษณะคล้ายคลึงกับกุ้ง แต่ส่วนท้องมีขนาดใหญ่ และสามารถอาศัยอยู่บนบกได้นาน ลำตัวเรียวยาวขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบ ส่วนท้องแบ่งออกเป็นปล้อง แม่หอบขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น พบเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้

ชื่อไทย : กั้งตั๊กแตน
กั้งตั๊กแตนขนาดกลาง ความยาวประมาณ15 เซนติเมตร ลำตัวค่อนข้างแบน ด้านบนมีสันเรียงตัวตามความยาว 8 เส้นส่วนท้องปล้องที่ 2 และ 5 มีแถบคาดสีดำตามขวาง ตัวเมียที่ผ่านการผสมแล้วจะปล่อยไข่ออกมาอุ้งไว้จนกว่าจะฟักเป็นตัวอ่อน

ชื่อไทย : แมงดาถ้วย
สัตว์มีขาเป็นข้อปล้องที่อาศัยอยู่ในทะเลส่วนหัวเชื่อมรวมกับอกเป็นรูปเกือกม้าส่วนท้องมีหนามบริเวณขอบข้างละ 6 คู่หางค่อนข้างกลมและไม่มีหนาม อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน วางไข่ตามริมตลิ่งบริเวณป่าชายเลน แมงดาชนิดนี้บางตัวอาจะเป็นพิษจึงควรระมัดระวังในการรับประทานไข่แมงดาหางกลมโดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม

ชื่อไทย : หอยขี้นก (Cerithidea)
หอยฝาเดียว (gastropod) ขนาดยาวประมาณ เซนติเมตร เปลือกเวียนเป็นเกลียวรูปเจดีย์พบเกาะอยู่ตามรากต้นโกงกาง หรือคลานอยู่ตามพื้นป่า เมื่อหอยเหล่านี้ตายลง เปลือกจะเป็นที่อยู่อาศัยของลูกปูเสฉวนขนาดเล็ก

ชื่อไทย : ปลาตีน (Boleophthalmus)
ปลาที่ปรับตัวทางโครงสร้างและสรีระหลายอย่างจนสามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานาน ปลาตีนมีอยู่หลายชนิดและขนาดแตกต่างกัน หัวขนาดใหญ่ ตาโตลำตัวเรียวเล็กลงไปทางหาง ครีบอกแผ่ขยายใหญ่ใช้คลานขณะอยู่บนบกได้ดีปลาตีนกินกุ้ง ปู และหนอนตามหาดโคลนเป็นอาหาร

ชื่อไทย :ปลานวลจันทร์ทะเล 
ปลาทะเลที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยได้ ลำตัวแบนด้านข้างเรียวยาว เกล็ดสีเงินเมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง 1 เมตร ครีบหางค่อนข้างใหญ่ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงหากินใกล้ชายฝั่งที่เป็นดินโคลน มักพบอยู่ตามลำคลองในป่าชายเลนทั่วไป

ชื่อไทย :ปลากะพงขาว 
ปลากะพงขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง 1 เมตร เกล็ดลำตัวเป็นสีเงิน ส่วนหัวเล็กงอนลงเล็กน้อยอาศัยอยู่ตามลำคลองในป่าชายเลนและริมฝั่งทะเลทั่วไป นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
ชื่อไทย : ปลากะพงตาแมว
ลำตัวค่อนข้างสั้น ตาอยู่ค่อนไปทางหัวขนาดยาวประมาณ 30 เซนติเมตรเกล็ดข้างตัวมีสีน้ำตาลอมเทา เส้นข้างลำตัวปรากฏเด่นชัด หากินอยู่ใกล้พื้นทะเลริมชายฝั่งและลำคลองในป่าชายเลน
ชื่อไทย :ปลาข้างตะเภา 
ปลาขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตรลำตัวสีเงินคาดด้วยแถบสีดำตามความยาวปลาชนิดนี้เป็นปลาที่สามารถอาศัยอยู่ทั้งในน้ำค่อนข้างจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม กินอาหารไม่เลือก มักอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทั่วไปบริเวณป่าชายเลนและปากแม่น้ำ
ชื่อไทย :ปลาตะกรับจุด หรือ ปลากะทะ 
ลำตัวแบนบางทางด้านข้างคล้ายปลาผีเสื้อปากเล็ก ลำตัวและครีบมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วไป มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเฉพาะตัวขนาดเล็กมักว่ายอยู่ตามผิวน้ำ บริเวณลำคลองของป่าชายเลน
ชื่อไทย :ปลากะรังปากแม่น้ำ 
ปลากะรังหรือปลาเก๋าขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง 80 เซนติเมตรปากกว้าง สามารถฮุบกินเหยื่อเข้าไปทั้งตัวซึ่งได้แก่ปลาขนาดเล็กกว่า พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำหรือตามลำคลองของป่าชายเลน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นเดียวกับปลากะพงขาว
ชื่อไทย : ปลาอมไข่
ลำตัวสั้นมากและแบนทางด้านข้าง ครีบหลังมี 2 อันเด่นชัด ปากค่อนข้างกว้างและเฉียงลงขนาดความยาวตัวประมาณ 5 เซนติเมตรครีบท้องอยู่ตรงตำแหน่งอก ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงริมชายฝั่งทะเลและลำคลองในป่าชายเลน
ชื่อไทย :ปลาเฉี่ยวหรือผีเสื้อเงิน 
ลำตัวป้อมสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ครีบหลังและครีบทวารยื่นยาว ผิวลำตัวสีเงินเหลือบเป็นประกายครีบหลังสีเหลืองมีลายคาดตามขวางผ่านตาและบริเวณขอบแผ่นปิดเหงือก มักพบบริเวณแหล่งน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ และป่าชายเลน
ชื่อไทย :ปลาสลิดทะเลจุดขาว 
ลำตัวแบนทางด้านข้าง ขนาดความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตรพื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาล แต้มด้วยจุดขาวทั่วตัว มักว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงเล็กๆหากินใกล้พื้นทะเลบริเวณชายฝั่งและปากแม่น้ำซึ่งเป็นป่าชายเลน
ชื่อไทย : ปลาเห็ดโคน
ลำตัวค่อนข้างกลมเรียวยาว ขนาดประมาณ15 เซนติเมตร ปากยาวแหลม เกล็ดหุ้มลำตัวสีเงินเป็นประกาย อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงหาอาหารจำพวกหนอน หอย กุ้ง ตามพื้นทะเลที่เป็นโคลนริมชายฝั่งและปากแม่น้ำ
ชื่อไทย :ปลาดอกหมาก 
ปลาขนาดยาวประมาณ 12 เซนติเมตรลำตัวป้อมสั้น เกล็ดหุ้มตัวสีเงินเป็นประกาย ก้านครีบหลังอันแรกเป็นสายยาว มักอาศัยอยู่เป็นฝูงขนาดย่อมบริเวณปากแม่น้ำและลำคลองในป่าชายเลน
ชื่อไทย :ปลาดุกทะเล 
ปลาดุกขนาดกลาง มีลำตัวเรียวยาว ด้านหน้าปากมีหนวด 4 คู่ ลำตัวมีคาดสีดำสลับขาวตลอดความยาว ด้านท้องสีขาว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ หากินอยู่ตามพื้นที่เป็นดินโคลนริมชายฝั่งและปากแม่น้ำ
ชื่อไทย : นกยาง
นกยางเป็นนกที่มีขายาว ปากยาวขนลำตัวส่วนใหญ่สีขาว มีอยู่หลายชนิด ที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่นกยางเปีย นกยางทะเล นกยางโทนนกเหล่านี้มักอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนหรือบึง ใกล้แหล่งน้ำ กินกุ้ง ปู หอยปลาเป็นอาหาร ทำรังอยู่บนต้นไม้ด้วยกิ่งไม้แห้ง
ชื่อไทย :นกแขวก 
นกในวงศ์นกยางที่ขนบริเวณหลังสีเขียวบริเวณปีกสีเทา ตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยมีขนสีน้ำตาลแต้มด้วยลายขีดสีขาว นกแขวกอาศัยอยู่ตามป่าชายเลนหรือหนองบึง มักออกหากินในเวลากลางคืน ทำรังด้วยกิ่งไม้แห้งสานกันอย่างหยาบๆ
ชื่อไทย : ลิงแสม
ลิงแสมมีชื่อเรียกตามพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนคือ ต้นแสม เพราะตามธรรมชาติของลิงชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามป่าแสม-ป่าโกงกาง ขนลำตัวมีสีน้ำตาล หางยาว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เวลาน้ำทะเลลดลง ลิงเหล่านี้จะลงมาจับปูตามพื้นป่าเป็นอาหารปัจจุบันเผ่าพันธุ์ของลิงแสมได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ตามแหล่งท่องเที่ยวเพราะได้รับอาหารโดยไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้ตามธรรมชาติ


สถานการณ์ปัจจุบันของระบบนิเวศป่าชายเลน 
            ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจากรมป่าไม้เมื่อปี  2543  แสดงให้เห็นว่า  ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลน  1,526,006.25  ไร่  เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อ
2539  จำนวน  478,616.25  ไร่  ทั้งที่น่าสังเกตว่า  ในการสำรวจครั้งนี้ได้เพิ่มนราธิวาสเป็นจังหวัดที่ 24  ทีมีพื้นที่ป่าชายเลนด้วยจำนวน  473.5  ไร่  หลังจากที่ตกสำรวจมาเป็นเวลานาน  ขณะเดียวกันการสำรวจครั้งนี้กลับไม่แสดงพื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรปราการ  ซึ่งเคยมีจำนวน  1,857.50  ไร่  ในการสำรวจเมื่อปี  2539             โดยภาพรวมป่าชายเลนของไทยนับว่าตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม  อันเป็นภาวะที่ต่อเนื่องมานับ 40 ปี  ดังที่ตัวเลขแสดงให้เห็นชัดเจนว่าภายในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่ป่าชายเลนได้สูญหายไปถึงประมาณ 1 ล้านไร่
สาเหตุของการลดลงของป่าชายเลน 
   -        การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  โดยเฉพาะการทำนากุ้ง พื้นที่ป่าชายเลนเป็นแหล่งผลิตอินทรีย์สารและธาตุอาหารที่สำคัญ  สำหรับสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนซึ่งมีมากมายหลายชนิด  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  เป็นต้น  ดังนั้นการแผ้วถางป่าแล้วจึงขุดบ่อขึ้นภายหลัง  เป็นการทำลายแหล่งแร่ธาตุที่มีการหมุนเวียน  เพื่อให้เกิดการสมดุลตามระบบธรรมชาติในระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน  และการทำนากุ้งวิธีนี้ยังทำความเสียหายแก่พื้นที่ป่าชายเลนมาก  เพราะนอกจากจะตัดไม้ลงแล้ว  ยังต้องขุดรากถอนโคนออกหมด  เป็นการทำลายพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีอยู่ในบริเวณนั้น  การทำลายป่าชายเลนในลักษณะนี้เป็นการเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างถาวร  ซึ่งเป็นการทำลาย  ทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศป่าชายเลนด้วย 
   -        การทำเหมืองแร่  การทำเหมืองแร่มีส่วนในการทำลายสภาพป่าและความอุดมสมบูรณ์ของป่า  จนยากที่จะฟื้นให้มีความสมบูรณ์เช่นเดิมในระยะเวลาอันสั้นได้  ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการทำเหมืองแร่  จะต้องขุดให้ลึกจนถึงสายแร่  ดินตะกอน  กรวด  และทรายที่ถูกพลิกขึ้นมาทับถม  ทำให้ป่าชายเลนไม่สามารถฟื้นตัวเกิดได้ดังเช่นเดิม  นอกจากนั้น  คุณภาพของน้ำยังเลวลง  เนื่องจากมีตะกอนขุ่นข้นแขวนลอยอยู่ด้วย  เมื่อตกตะกอนก็จะกลายเป็นดินดอนทำให้น้ำท่วมไม่ถึง  มีแต่ความแห้งแล้ง  ดังนั้น  การทำเหมืองแร่จึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบนิเวศป่าชายเลนโดยตรง 
            การก่อสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่  เมื่อมีการตัดถนนป่าชายเลน  ก็จะมีการถมที่และสร้างอาคารบ้านเรือน  ร้านค้า  ศูนย์การค้า  ที่ทำการ  และสำนักงานบริเวณนั้นติดตามมา ราษฎรที่อยู่ใกล้กับป่าชายเลนก็จะบุกรุกและถือโอกาสครอบครองที่ดินเป็นของตัวเอง 
   -        การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า  การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้าผ่านพื้นที่ป่าชายเลน  จะต้องมีการทำลายป่าชายเลนส่วนที่จะสร้างขึ้น  เป็นเหตุให้ป่าชายเลนลดน้อยลง  ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างอื่นตามมาด้วย  เช่น  สัตว์ในป่าชายเลนไม่มีที่อยู่อาศัย  เป็นต้น  และแนวถนนจะเป็นคันกั้นน้ำทะเล  ทำให้น้ำทะเลไหลลงสู่ป่าชายเลนไม่ได้  ต้นไม้ในป่าชายเลนจะตาย
   -        การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม  พื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่แถบชายฝั่งทะเลส่วนหนึ่งถูกบุกเบิกเพื่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรม  ทำให้เสียพื้นที่ป่าชายเลนเป็นจำนวนมาก  และโรงงานอุตสาหกรรมยังปล่อยของเสียลงสู่ป่าชายเลนบริเวณรอบข้าง  ทำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนถูกทำลาย 
   -        การทำนาเกลือ  เนื่องจากแสงแดดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเผาน้ำทะเลให้ระเหยแห้งจนตกผลึกกลายเป็นเกลือ  ดังนั้น  ป่าชายเลนโดยรอบจะถูกตัดฟันจนหมด  เพื่อเปิดพื้นที่ให้โล่งมากที่สุด  จึงเป็นสาเหตุให้ป่าชายเลนถูกทำลายเป็นจำนวนมาก
   -        การตัดไม้เกินกำลังของป่า  ปริมาณความต้องการใช้ประโยชน์จากไม้ในป่าชายเลนมีจำนวนมาก  เช่น  การเผาถ่าน  ทำเสาเข็ม  ไม้ค้ำยัน  เฟอร์นิเจอร์  เป็นต้น  ซึงมากกว่ากำลังการผลิตของป่าชายเลน  ทำให้ป่าชายเลนถูกบุกรุกเป็นจำนวนมาก 





บรรณานุกรม


จัดทำโดย   นาย   จิรศักดิ์   สารพงษ์   ม.6/6   เลขที่13